การประปาส่วนภูมิภาคสาขาหลังสวน
การประปาส่วนภูมิภาคเขต ๔

หน้าหลัก


การประปาส่วนภูมิภาค สาขาหลังสวน
 

1.สภาพทั่วไป 
          จังหวัดชุมพร ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของทะเลอ่าวไทย มีเนื้อที่ประมาณ 6,185 ตารางกิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยทางรถยนต์ประมาณ 498 กิโลเมตร สภาพเป็นที่ราบต่ำลาดลงทะเลอ่าวไทย   ทางด้านตะวันตกจะเป็นที่ราบสูงและภูเขา มีคลองท่าตะเภาไหลผ่านทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ    ผ่านตัวเมืองชุมพรไหลลงสู่ทะเลที่ตำบลปากน้ำชุมพร มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

 ทิศเหนือ        ติดต่อกับ         จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
 ทิศใต้             ติดต่อกับ         จังหวัดสุราษฎร์ธานี
 ทิศตะวันออก  ติดต่อกับ         อ่าวไทย

 ทิศตะวันตก    ติดต่อกับ         จังหวัดระนองและประเทศพม่า

                        ลักษณะภูมิประเทศทั่วไป  สภาพพื้นที่ของจังหวัดชุมพรแบ่งเป็น 3 ลักษณะ ๆ คือ พื้นที่ราบตอนกลาง  พื้นที่ราบชายฝั่งทะเล  พื้นที่ทางทิศตะวันตกเป็นที่สูงและภูเขา ทิวเขาที่สำคัญคือทิวเขาตะนาวศรี ซึ่งเป็นพรหมแดนทางธรรมชาติระหว่างประเทศ  ถัดจากแนวที่สูงมาทางด้านตะวันออกเป็นที่ราบตอนกลางซึ่งมีลักษณะเป็นที่ราบลูกคลื่น และที่ราบลุ่ม เป็นเขตเกษตรกรรมที่สำคัญ สำหรับพื้นที่ทางตะวันออกเป็นที่ราบชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 222 กิโลเมตร ลักษณะชายหาดของจังหวัดชุมพรค่อนข้างเรียบมีความโค้งเว้าน้อย ความกว้างของจังหวัดโดยเฉลี่ย 36 กิโลเมตร

                        ลักษณะภูมิอากาศ จังหวัดชุมพรได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเหตุให้มีฤดูกาลเพียง 2 ฤดู คือ ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ - พฤษภาคม โดยในช่วงนี้ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้  และฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน - มกราคม ซึ่งเป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พัดผ่านอ่าวไทยเข้าสู่ภาคใต้เป็นมวลอากาศชื้นสูง ดังนั้นเมื่อปะทะแนวเทือกเขาตะนาวศรีจึงทำให้เกิดฝนตกชุกตลอดพื้นที่จังหวัด

                        สภาพเศรษฐกิจและสังคม ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตรกรรม การประมง ซึ่งสามารถทำรายได้ดี ได้แก่สวนยางพารา สวนมะพร้าว สวนกาแฟ ปาล์มน้ำมัน

                 อำเภอหลังสวน ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดชุมพรประมาณ 36 กิโลเมตร โดยห่างจากกรุงเทพมหานครโดยทางรถยนต์ประมาณ 571 กิโลเมตร และทางรถไฟประมาณ 549 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

ทิศเหนือ         ติดต่อกับ   อำเภอทุ่งตะโก
 ทิศใต้              ติดต่อกับ   อำเภอละแม
 ทิศตะวันออก   ติดต่อกับ   ทะเลอ่าวไทย
ทิศตะวันตก     ติดต่อกับ   อำเภอพะโต๊ะ และอำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง

                        ลักษณะภูมิประเทศทั่วไป   ส่วนใหญ่เกือบ 60 เปอร์เซ็นต์เป็นป่าและเขา โดยมีเทือกเขาและป่าไม้เป็นบริเวณกว้างทางด้านทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตอำเภอพะโต๊ะ และบางส่วนเขตติดต่อกับอำเภอทุ่งตะโกและอำเภอละแม และยังมีภูเขากระจายในพื้นที่เกือบทุกตำบล ที่ราบมีตามเชิงเขา ริมฝั่งแม่น้ำลำคลอง ลักษณะเทลาดสู่ชายทะเลด้านทิศตะวันออก ปัจจุบันพื้นที่ป่าเขาถูกบุกรุกทำลายลงเป็นจำนวนมาก

                  ลักษณะภูมิอากาศ   เนื่องจากตั้งอยู่ที่คอดกิ่วของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ จึงได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมทั้งจากทะเลอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ทำให้มีฝนตกเกือบตลอดปีและอากาศเย็นสบาย จะมีฝนทิ้งช่วงและอากาศค่อนข้างร้อนบ้างในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ – เมษายน และบางปีมีอากาศค่อนข้างหนาวในช่วงเดือน พฤศจิกายน – มกราคม ปริมาณฝนตกเฉลี่ยประมาณ 1,900 มิลลิเมตรต่อปี

                        สภาพเศรษฐกิจและสังคม   ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตรกรรม ทำสวน ทำนา รองลงมาได้แก่ การประมง การปศุสัตว์ ป่าไม้ และยังมีประกอบการอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม บางส่วน นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ได้แก่ ถ้ำเขาเงิน ถ้ำเขาเกรียบ ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก เป็นต้น  

                    อำเภอสวี อำเภอสวีเป็นเมืองเก่าแก่ตามประวัติศาสตร์อำเภอนี้ ตั้งอยู่ภาคใต้ทางฝั่งตะวันออกของประเทศไทย   เมืองสวีตั้งอยู่ริมคลองสวี ต่อมาเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2440 (ร.ศ. 116 )ได้ตั้งที่ทำการอำเภอสวีครั้งแรกในหมู่ที่   5 ตำบลนาโพธิ์ โดยใช้บ้านพักของนายรื่น ทองคำ เป็นที่ว่าการชั่วคราวตั้งอยู่ครึ่งปีก็ย้ายไปตั้งที่บ้านของนายชุ่ม กำนันตำบลปากแพรก ปฏิบัติงานได้ปีเศษ จึงย้ายที่ว่าการไปอยู่ริมแม่น้ำสวี ตำบลสวี   พ.ศ. 2462 ที่ว่าการอำเภอสวีชำรุดไม่สามารถ ใช้ปฎิบัติราชการได้จึงย้ายไปใช้บ้านพักของนายฮก บุญยสมบัติ คหบดี เป็นที่ว่าการอำเภอชั่วคราว 1 เมษายน พ.ศ. 2462 ได้จัดสร้างที่ว่าการอำเภอสวีขึ้นใหม่ที่หมู่ที่ 5 ตำบลนาโพธิ์ ซึ่งเป็นชุมชนที่เป็นศูนย์รวมการค้าต่าง ๆ ที่ใหญ่ที่สุดของอำเภอสวี 24 มกราคม พ.ศ. 2511 ที่ว่าการอำเภอสวีได้ถูกเพลิงไหม้ กรมการปกครอง จึงอนุมัติงบประมาณพิเศษให้ก่อสร้างที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ และมีพิธีเปิดเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2512 ใช้ปฎิบัติราชการอยู่ถึง พ.ศ. 2544 เป็นระยะเวลา 32 ปี อาคารที่ว่าการอำเภอสวีชำรุดทรุดโทรมตามสภาพการใช้งาน แรมการปกครอง ได้อนุมิติงบประมาณให้ก่อสร้างที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2543 

                  วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544  ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอสวีมาปฎิบัติงานที่ว่าการอำเภอสวี(หลังใหม่)ตั้งอยู่ที่บ้านดอนรักษ์ หมู่ที่ 4 ตำบลสวี จนถึงปัจจุบัน และในอนาคตจะพัฒนาให้เป็นศูนย์ราชการอำเภอสวี อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อเตรียมความพร้อมในการบริการประชาชนแบบเบ็ดเสร็จ

                        ลักษณะภูมิอากาศ ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ  เป็นเหตุให้มีฤดูกาลเพียง 2 ฤดู

                        สภาพเศรษฐกิจและสังคมอาชีพหลัก ได้แก่ เกษตรกรรม ผลิตผลการเกษตรที่สำคัญ     และนำรายได้สู่ประชาชนชาวอำเภอสวี ได้แก่ ยางพารา ปาล์ม  กาแฟ  และสวนผลไม้ต่าง ๆ เช่น สับปะรด ทุเรียน ลองกอง ประมง การประมงในอำเภอสวีส่วนใหญ่จะเป็นการประมงชายฝั่งเรือ ประมงขนาดเล็ก และมีการเพาะเลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลากะพงชายฝั่ง อาชีพเสริม ได้แก่ รับจ้างทั่วไป รวมทั้งการรับจ้างด้านแรงงานภาคเกษตรกรรม

                        ตำบลปากตะโก ก่อนปี พ.ศ. 2519 ตำบลปากตะโกขึ้นอยู่กับการปกครองของอำเภอสวี เมื่ออำเภอทุ่งตะโก ได้รับยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอ เมื่อ พ.ศ. 2519 ตำบลปากตะโกแยกมาอยู่ ในการปกครองของ     อำเภอทุ่งตะโกจนถึงปัจจุบัน

                  อาณาเขต

ทิศเหนือ      จรดอำเภอสวี จังหวัดชุมพร
 ทิศใต้           จรดอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
 ทิศตะวันออก            จรดอ่าวไทย
 ทิศตะวันตก จรดตำบลทุ่งตะไคร  อำเภอทุ่งตะโก 

                        ลักษณะภูมิประเทศ เป็นพื้นที่ลาดเอียง ประกอบไปด้วยภูเขา แล้วค่อย ๆ ลาดต่ำลงสู่ชายทะเล ซึ่งความยาวของชายทะเลประมาณ 15 กม.
สภาพเศรษฐกิจ อาชีพหลัก ทำสวน ประมง อาชีพเสริม รับจ้าง

                  อำเภอละแม   เดิมเป็นตำบลขึ้นอยู่กับอำเภอขันเงิน จังหวัดหลังสวน เป็นชุมชนขนาดเล็ก   ด้านทะเลมี กุ้ง  หอย  ปู ปลาชุกชุมมากเมื่อ พ.ศ. 2435 จังหวัดหลังสวนยุบเป็นอำเภอขึ้นต่อจังหวัดชุมพร   แต่อำเภอละแมก็ยังขึ้นอยู่กับอำเภอหลังสวน  และต้องติดต่อราชการที่อำเภอหลังสวนเดิม   เนื่องจากประชากรตำบลละแมมีจำนวนมากและเป็นตำบลขนาดใหญ่       การเดินทางไปติดต่อราชการที่อำเภอหลังสวนเดิมไม่สะดวก   ต่อมาวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2514   กระทรวงมหาดไทยยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอ   และเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2520 ได้ยกฐานะเป็นอำเภอ

                  คำว่าละแมอาจจะเพี้ยนมาจาก คำว่า แลมห์ ในภาษาเขมร แปลว่าหนูผี   ซึ่งเป็นภูเขาลูกหนึ่งตั้งอยู่ด้านตะวันออกของสถานีรถไฟละแม เมื่อมองจากสถานีรถไฟหรือจากทะเล    ก็จะมีลักษณะเหมือนหนูหมอบอยู่อีกข้อสันนิษฐานหนึ่งอาจจะมาจากคำว่า   ลาแม่   ซึ่งเป็นชื่อหมู่บ้านหนึ่งในสมัยก่อน

                  อาณาเขต มีอาณาเขตดังต่อไปนี้

                  ทิศเหนือ         ติดต่อกับ      อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร , อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร
           ทิศใต้              ติดต่อกับ      อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
           ทิศตะวันออก   ติดต่อกับ      อ่าวไทย
               
 ทิศตะวันตก     ติดต่อกับ      อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร    

                        ลักษณะภูมิอากาศ อำเภอละแมมีสภาพอากาศโดยทั่วไป ร้อนชื้น ฝนตกชุกประมาณ 8 เดือนต่อปี

                        สภาพเศรษฐกิจและสังคม    อาชีพหลักของประชากรในเขตอำเภอละแม ได้แก่ เกษตรกรรม    ประมง ส่วนอาชีพเสริมได้แก่   การปลูกสวนมะพร้าว   ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญได้แก่   ยางพารา ปาล์มน้ำมัน   อำเภอละแมมีแหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่ แม่น้ำละแม   คลองบ้านดวด   ด้านทรัพยากรทางธรรมชาติที่สำคัญและเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญคือ ชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย   น้ำตกจำปูน   บ่อน้ำร้อน        ถ้ำเขาพลู      

 

 
แผนที่ประเทศไทย


คลิกที่ภาพ


This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free